การดริฟท์ (Drift) ก็คือการขับขี่รถยนต์ในทางโค้งโดยทำการอันเดอร์สเตียร์ (under steer) เข้าหาโค้งและผ่านโค้งนั้นไปสำหรับการนี้โดยเฉพาะ การดริฟท์อาจใช้เพื่อความสนุกซึ่งมีจุดประสงค์ที่ผสมผสานระหว่างความสนุกกับการเสริมทักษะในการควบคุมรถหรืออาจะใช้ในการแข่งขันก็ได้
ดริฟท์ลงภูเขา สุดๆไปเลยยย
ต้นกำเนิดของการดริฟท์(Drift)
ชายคนนี้มีนามว่า Keiichi Tsuchiya ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น Drift King
(ขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ http://www.kingofeurope.net/koa/en/koa-news/item/302-k1.html)
toyota ae86 trueno รถที่ทซึชิยะใช้ในการดริฟท์
(ขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ http://www.oocities.org/yenga/keiichi.htm)
(ขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ http://juiceboxforyou.com/2012/01/feature-iconic-attire/)
ประวัติ Drift King
เคอิชิ ซึชิย่า เริ่มต้นการแข่งในวัยหนุ่มเหมือนนักแข่งที่ยิ่งใหญ่ส่วนมาก เมื่อตอนที่เขาหัดขับรถเขาก็เริ่มต้นทดลองดึงเบรคมือเพื่อให้ท้ายปัดและใช้พวงมาลัยแก้อาการ ซึ่งทำให้เขารู้สึกสนุกและนั่นเป็นการสอนพื้นฐานการควบคุมรถไปในตัวด้วย เค้าไม่ได้ไปเรียนที่โรงเรียนสอนขับรถแข่งหรือมีครอบครัวที่ร่ำรวยเหมือนนักแข่งผู้ยิ่งใหญ่คนอื่นซึ่งสิ่งนั้นสามารถเพิ่มพูนทักษะการขับเขาได้ แต่เขามีแค่แรงผลักดันที่อยากจะขับรถเป็นพื้นฐานเท่านั้น เขาเริ่มที่จะสร้างความรู้สึกที่ว่าทำอย่างไรถึงจะผ่านโค้งด้วยความเร็วที่สูงที่สุดโดยการขับบนภูเขาแถวบ้าน ซึ่งนี่ไม่ใช่ทางที่ปลอดภัยหรือเท่ห์ในการเรียนรู้การแข่งรถ อย่างไรก็ตามเขาก็เรียนรู้มากขึ้นจากการวิ่งแข่งบนภูเขา(Touge) เขาประสบอุบัติเหตุบ้างเช่นขับ รถสกายไลน์รุ่น KPGC10 ตกเขาหรือขับชนข้างกำแพง
และการขับบนหิมะก็ได้เพิ่มพูนทักษะการควบคุมรถมากขึ้น ยิ่งเขาขับบนสภาพพื้นผิวที่ต่างกันมากเท่าไหร่เขาก็เริ่มที่จะดิรฟท์ผ่านโค้งได้อย่างสบายขึ้น เขาเริ่มดริฟท์ไม่ใช่เพราะเขาต้องการขับผ่านโค้งได้เร็วกว่าใคร แต่เพราะว่าเขารู้สึกตื่นเต้นกับมันมากที่สุด
การดริฟท์ผ่านโค้งไม่ใช่วิธีที่จะขับผ่านโค้งได้เร็วที่สุดในทุกๆโค้ง และนี่เป็นที่ๆ ซึชิย่าถูกสวมมงกุฏในฐานะ Dori Kin หรือ Drift King ในการจัดแข่งขันการดริฟท์ของนิตยสารออพชั่น
ซึ่งตัดสินการแข่งขันโดยดูที่สไตล์และเทคนิคที่ใช้ในการดริฟท์ และภายหลังก็ได้ตัดสินกันที่ไลน์ดริฟท์และมีการแข่งที่โค้งมากขึ้นซึ่งความยากจะมีมากกว่า ย้อนกลับไปในปี 1977 เคอิชิ เริ่มการอาชีพการขับรถแข่งของเขากับรถแข่งมากมายในการแข่งขันรุ่นสมัครเล่นต่างๆ การแข่งโดยใช้รถที่มีกำลังเครื่องยนต์น้อยนั้นยากแต่ก็เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ ต่อมา เคอิชิได้มาขับรถ โตโยต้า AE86 รุ่นปี1984 ซึ่งสนับสนุนโดยบริษัทผลิตยาง ADVAN ระหว่างการขับแข่งลงเขามากมาย เคอิชิ ดริฟท์ผ่านโค้งและใช้ความเร็วที่ดีกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ ซึ่งเทคนิคที่เค้าใช้ทำให้เค้าเป็นดริฟท์คิง แต่นั่นก็ไม่เท่ากับที่เค้าได้รับการยกย่องว่าเป็นคนแรกที่ดริฟท์ การพัฒนาของเขาเพิ่มพูนขึ้นพอๆกับชื่อเสียงของเขา ในขณะนั้นเขาเป็นนักขับรถแข่งอาชีพแล้วและเค้าก็ยังไปแข่งนอกกฎหมายตามภูเขาซึ่งทำให้ชื่อเสียงเค้าโด่งดังมากขึ้น หลังจากที่มีการออกวีดีโอโดยมีการปรากฏของ เคอิชิ และการที่เขายังไปแข่งนอกกฎหมายที่ภูเขาทำให้ใบขับขี่ของเขาถูกยึด สำหรับนักขับรถแข่งมืออาชีพนี่เป็นสิ่งที่น่าอายมาก แต่สำหรับเขากลับกลายว่าเป็นประโยชน์ ทำให้แฟนๆของเขาและชื่อเสียงของเขาขยายมากขึ้น คุณอาจเรียกเขาได้ว่ากบฏ หรือว่าเขาเป็นเพียงคนที่มาจากที่ๆไม่มีใครรู้มาเพื่อความสำเร็จโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้าและไม่มีภูมิหลังของการแข่งรถมาก่อน เขายังคงผูกพันกับรถเก่าๆที่เขาใช้ชีวิตการแข่งขันโดยเติบโตมากับมันดริฟท์ และ พบพานชัยชนะกับมัน นั่นคือโตโยต้า AE86 ทางโตโยต้าเองก็รู้สึกว่าเค้าเป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนรถนี้ และมอบ AE86 TRD ให้แก่เขา
และการขับบนหิมะก็ได้เพิ่มพูนทักษะการควบคุมรถมากขึ้น ยิ่งเขาขับบนสภาพพื้นผิวที่ต่างกันมากเท่าไหร่เขาก็เริ่มที่จะดิรฟท์ผ่านโค้งได้อย่างสบายขึ้น เขาเริ่มดริฟท์ไม่ใช่เพราะเขาต้องการขับผ่านโค้งได้เร็วกว่าใคร แต่เพราะว่าเขารู้สึกตื่นเต้นกับมันมากที่สุด
การดริฟท์ผ่านโค้งไม่ใช่วิธีที่จะขับผ่านโค้งได้เร็วที่สุดในทุกๆโค้ง และนี่เป็นที่ๆ ซึชิย่าถูกสวมมงกุฏในฐานะ Dori Kin หรือ Drift King ในการจัดแข่งขันการดริฟท์ของนิตยสารออพชั่น
ซึ่งตัดสินการแข่งขันโดยดูที่สไตล์และเทคนิคที่ใช้ในการดริฟท์ และภายหลังก็ได้ตัดสินกันที่ไลน์ดริฟท์และมีการแข่งที่โค้งมากขึ้นซึ่งความยากจะมีมากกว่า ย้อนกลับไปในปี 1977 เคอิชิ เริ่มการอาชีพการขับรถแข่งของเขากับรถแข่งมากมายในการแข่งขันรุ่นสมัครเล่นต่างๆ การแข่งโดยใช้รถที่มีกำลังเครื่องยนต์น้อยนั้นยากแต่ก็เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ ต่อมา เคอิชิได้มาขับรถ โตโยต้า AE86 รุ่นปี1984 ซึ่งสนับสนุนโดยบริษัทผลิตยาง ADVAN ระหว่างการขับแข่งลงเขามากมาย เคอิชิ ดริฟท์ผ่านโค้งและใช้ความเร็วที่ดีกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ ซึ่งเทคนิคที่เค้าใช้ทำให้เค้าเป็นดริฟท์คิง แต่นั่นก็ไม่เท่ากับที่เค้าได้รับการยกย่องว่าเป็นคนแรกที่ดริฟท์ การพัฒนาของเขาเพิ่มพูนขึ้นพอๆกับชื่อเสียงของเขา ในขณะนั้นเขาเป็นนักขับรถแข่งอาชีพแล้วและเค้าก็ยังไปแข่งนอกกฎหมายตามภูเขาซึ่งทำให้ชื่อเสียงเค้าโด่งดังมากขึ้น หลังจากที่มีการออกวีดีโอโดยมีการปรากฏของ เคอิชิ และการที่เขายังไปแข่งนอกกฎหมายที่ภูเขาทำให้ใบขับขี่ของเขาถูกยึด สำหรับนักขับรถแข่งมืออาชีพนี่เป็นสิ่งที่น่าอายมาก แต่สำหรับเขากลับกลายว่าเป็นประโยชน์ ทำให้แฟนๆของเขาและชื่อเสียงของเขาขยายมากขึ้น คุณอาจเรียกเขาได้ว่ากบฏ หรือว่าเขาเป็นเพียงคนที่มาจากที่ๆไม่มีใครรู้มาเพื่อความสำเร็จโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้าและไม่มีภูมิหลังของการแข่งรถมาก่อน เขายังคงผูกพันกับรถเก่าๆที่เขาใช้ชีวิตการแข่งขันโดยเติบโตมากับมันดริฟท์ และ พบพานชัยชนะกับมัน นั่นคือโตโยต้า AE86 ทางโตโยต้าเองก็รู้สึกว่าเค้าเป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนรถนี้ และมอบ AE86 TRD ให้แก่เขา
เทคนิคในการดริฟท์ (Drift)
องค์ประกอบที่ดีของรถดริฟท์ (Drift)เบื้องต้น
เกียร์สแตนดาร์ดของรถขับเคลื่อนล้อหลังอย่างเอสอาร์20ดีอีที นักแข่งหลายคนมักมองข้ามเพราะขนาดที่เล็ก เฟืองข้างในจึงเล็ก ไม่สามารถทนต่อความจัดจ้านของเครื่องยนต์ขณะดริฟท์ หลักสูตรประหยัดมักนำของอาร์บี25ดีอีที มาใส่ เพราะขนาดเฟืองและเสื้อเกียร์ที่ใหญ่จึงทนทานมาก ส่วนรถดริฟท์ที่ใช้เครื่องยนต์เจแซดและอาร์บี เป็นเกียร์ที่มีความทนทานสูงและขนาดใหญ่ หลักสูตรประหยัดจึงใช้เครื่องยนต์ 2เจแซด แล้วใช้เกียร์1เจแซด เพื่อเพิ่มความจัดจ้าน ส่วนอาร์บี26 ก็ใช้เกียร์อาร์บี25
ส่วนใครที่งบเหลือก็มักใช้เกียร์ซิ่ง เช่น ด็อกบ็อกซ์ที่การเข้าเกียร์เป็นเอช-แพทเทิร์น เหมือนสแตนดาร์ด แต่เหยียบคลัตช์เพียงเกียร์ 1 ที่เหลือดันเข้าได้ทันที หากเทพสุดต้องซีเควนเชียลจากสำนักแต่งต่างๆ ที่ราคานั้นถอยอีโคคาร์ขับเล่นได้สบาย แต่หลายคนลงทุนซื้อเพราะเหยียบคลัตช์เพียงเกียร์ 1 และการเปลี่ยนเกียร์แบบดันขึ้น-ลง ช่วยให้การเข้าโค้งสมูท รวดเร็ว และมีความทนทานสูง
คลัตช์
อาจเกิดข้อสงสัยเมื่อชมแข่งดริฟท์ในสนามว่าเสียงกรุ๊งกริ๊งในรถเสียงอะไร เกียร์พังหรือเครื่องยนต์เกิดปัญหาหรือไม่ ที่จริงแล้วเป็นเสียงคลัตช์ซิ่ง ที่เปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหาคลัตช์ลื่น นิยมใช้ 4 แบบ คือ 1 แผ่น ชุดคลัตช์แบบนี้คล้ายกับของสแตนดาร์ด มีผ้าคลัตช์แผ่นเดียว โดยมากโมดิฟายหวีคลัตช์ให้มีแรงกดเพิ่มขึ้น ผ้าคลัตช์จะเป็นแบบทองแดง มีลักษณะเป็นก้อน เช่น 3 ก้อน หรือ 5 ก้อน รองรับพลังได้ไม่เกิน 350 แรงม้า ส่วนแบบ 2 แผ่น นิยมใช้ในการดริฟท์ ใช้ผ้าคลัตช์ 2 แผ่น จานกดคลัตช์ 2 ตัว ลดอาการลื่นของคลัตช์ได้มากขึ้น แต่มีน้ำหนักมากจึงต้องใช้ฟลายวีลน้ำหนักเบา แบบ 3 แผ่น สามารถรองรับพลังได้ถึง 800 แรงม้า แบบสุดท้าย 4 แผ่น ในไทยรถดริฟท์ไม่ใช้กัน เพราะไม่มีคันใดมีพลังเครื่องยนต์สูงจนจำเป็นต้องใช้ เพราะรองรับพลังได้ตั้งแต่ 1,000 - 1,300 แรงม้า
เฟืองท้าย
อุปกรณ์ส่งต่อแรงหมุนจากเพลาขับไปดุมล้อ สามารถเปลี่ยนอัตราทดได้หลายระดับเหมือนเกียร์ ในชุดเฟืองท้าย ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังสู่ล้อรถได้แก่ เฟืองเดือยหมูทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังเครื่องยนต์ไปสู่เฟืองบายศรี โดยทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางการถ่ายทอดกำลังเพื่อขับเพลาข้าง ส่วนเฟืองดอกจอกแบ่งกำลังที่จะส่งไปเพลาข้างซ้ายและขวา และเฟืองขับเพลาข้างทำหน้าที่ขับเพลาข้างเพื่อหมุนล้อ ส่วนอัตราทดก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสนามแข่ง เพราะไลน์ถูกกำหนดต่างกัน เช่น บางสนามอาจต้องใช้ 4.3 บางสนามอาจใช้ 4.1 ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการออกแบบไลน์ของผู้จัดจึงควรมีไว้หลายอัตราทด
ลิมิเต็ดสลิป
ทำหน้าที่ส่งกำลังขับสู่ล้อตรงข้ามกับล้อที่หมุนฟรี ในรถดริฟท์ล้วนเป็นลิมิเต็ด 100 % คือ ล้อซ้ายและขวาหมุนเท่ากันตลอดเวลา ข้อดี คือ ดริฟท์ง่าย ล้อไม่มีการสูญเสียกำลัง ล้อฟรีทั้ง 2 ล้อ แต่ข้อเสียคือ ใช้ในชีวิตประจำวันลำบาก เลี้ยวยาก เสียงดัง และยางสึก โดยไม่จำเป็น
เบรก
รถดริฟท์กับเบรกหน้าไม่จำเป็นต้องเทพมากนัก แค่ 4 พ็อต ก็พอ เพราะเบรกหน้าใช้เพียงควบคุมไม่ให้ชนหากหลุดแทร็ค หรือเพียงให้จอดนิ่งสนิท ความสำคัญอยู่ที่เบรกหลัง งบประมาณต่ำสุด คือ ใช้คาลิเปอร์ 2 พ็อต 2 ตัว แล้วแยกการทำงานเป็นเบรกมือสำหรับดริฟท์ 1 ตัว มักเรียกว่าเบรกมือไฮดรอลิก สามารถปรับแต่งได้สะดวกกว่าระบบสายสลิง โดยแยกทางเดินน้ำมันเบรกเป็น 2 ชุด สำหรับเบรกเท้าและเบรกมือ พร้อมติดตั้งหม้อลมเบรกเพิ่มสำหรับเบรกมือโดยเฉพาะ ซึ่งหลายอู่สามารถทำได้ด้วยเงินเพียงไม่กี่หมื่นบาท หากใครงบมากมักใช้เบรกไฮดรอลิกของสำนักแต่งต่างๆ แบบคาลิเปอร์เดียว 6 พ็อต แยกการทำงานสำหรับเบรกมือ ชุดนี้ราคาค่อนข้างสูง แต่ประสิทธิภาพดีกว่าการดัดแปลงแบบ 2 ตัว
มาดูทักษะของ Drift King กัน ^^
Did you know?
คุณรู้หรือไม่ว่าเคอิชิ ทซึชิยะได้รับหน้าที่เป็นนักแสดงแทนในภาพยนตร์ดังเรื่อง
Fast & Furious Tokyo Drift ด้วย *.*
Fast & Furious Tokyo Drift ด้วย *.*
(ฉากหนึ่งในภาพยนตร์ดังเรื่อง Fast & Furious Tokyo Drift) |
*การดริฟท์เป็นทักษะในการขับรถรูปแบบหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง ท่านผู้อ่านควรปฎิบัติตามกฎจราจรในชีวิตจริงและคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นอย่างเคร่งครัด ถ้าจะทำการดริฟท์ก็ควรจะทำในสนามแข่งรถหรืออยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ*
อ้างอิง
http://www.siamsport.co.th/
http://www.online-station.net/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น